กำลังพญาเสือโคร่ง (Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เชียงใหม่เรียกกำลังเสือโคร่ง ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกเส่กวอเว ชาวลั้วะเรียกลำแคร่ ลำคิแย หรือลำแค และคนเมืองเรียกพญาเสือโคร่ง หรือนางพญาเสือโคร่ง เป็นต้น ซึ่งต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เพาะปลูกกันมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่านอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของกำลังพญาเสือโคร่ง
สำหรับต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20 – 40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
ประโยชน์และสรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง
เนื้อไม้, เปลือก – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้อากาปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมทั้งช่วยบำรุงกำลัง ช่วยในการเจริญอาหาร บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง และช่วยขับลมในลำไส้ ให้รสมันฝาดติดร้อน
นอกจากนี้ ต้นกำลังพญาเสือโคร่งยังมีประโยชน์อีกสารพัด อาทิ สามารถนำไปใช้ในการทำเครื่องเรือน การก่อสร้างต่างๆ หรือทำเป็นพื้นกระดาน ด้ามเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ผสมกับแป้งเพื่อทำเค้กหรือขนมปัง ตลอดจนนำมาทำเป็นกระดาษ และใช้ทำการบูรไว้สำหรับสูดดมอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น