วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไปของจันทน์เทศ
สำหรับต้นจันทน์เทศนั้นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 18 เมตร ลำต้นเรียบมีสีเทาแกมดำ ส่วนเนื้อไม้นั้นมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2 – 3 ดอก หรือบางครั้งอาจออกเป็นดอกเดี่ยว จะออกตามซอก สีเหลือง ส่วนผลเป็นรูปทรงกลม คล้ายลูกสาลี่ เปลือกผลเรียบสีเหลืองนวล หรือแดงอ่อน เมื่อผลแก่จะแตกปริออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดกลมๆ สีน้ำตาล

จันทน์เทศ

ประโยชน์และสรรพคุณของจันทน์เทศ
เนื้อไม้, แก่น – ช่วยในการบำรุงปอด หัวใจ และน้ำดี รวมทั้งแก้อาการตับพิษตีพิษโลหิต และแก้ไข้เพื่อดี ให้รสขมหอมสุขุม
ลูก – ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้กำเดา แก้อาการท้องร่วง รวมทั้งแก้อาการจุกเสียด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยบำรุงโลหิต ขับลม และแก้อาการปวดมดลูก ให้รสฝาดร้อนหอม
รกหุ้มเมล็ด – (ดอกจันทน์เทศ, จันทน์ปาน) ช่วยในการบำรุงโลหิต ช่วยขับลม และบำรุงธาตุ ให้รสเผ็ดร้อน
เมล็ด – (ลูกจันทน์เทศ, หน่วยสาน) ช่วยในการบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยขับลม แก้อาการปวดมดลูก รวมทั้งแก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต และแก้อาการท้องร่วง ให้รสร้อนหอมติดจะฝาด
เปลือกเมล็ด – ช่วยในการแก้อาการปวดท้อง รวมทั้งช่วยสมานบาดแผลภายใน และแก้ท้องขึ้น

จันทน์เทศ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นจันทน์เทศนี้มีประโยชน์มากมายมากมายเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เหมาะสำหรับในหญิงตั้งครรภ์โดยห้ามรับประทานเลย ทั้งนี้การรับประทานลูกจันทน์เทศไม่ควรรับประทานเกินกว่า 5 กรัม เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจทำงานผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น