ลักษณะทั่วไปของกระชาย
กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย
กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณของกระชาย
เหง้า– ช่วยในการบำรุงกำลัง แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคต่างๆ อันเกิดในปาก ปากเปื่อย แก้ลมในกองหทัยวาต รวมทั้งใจสั่น บิดปวดเบ่ง ปวดมวนในช่องท้อง ตลอดจนขับระดู แก้มุตกิด (อาการตกขาว) ให้รสขม และเผ็ดร้อน
เหง้า– ช่วยในการบำรุงกำลัง แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคต่างๆ อันเกิดในปาก ปากเปื่อย แก้ลมในกองหทัยวาต รวมทั้งใจสั่น บิดปวดเบ่ง ปวดมวนในช่องท้อง ตลอดจนขับระดู แก้มุตกิด (อาการตกขาว) ให้รสขม และเผ็ดร้อน
ราก (นมกระชาย)– มีสรรพคุณคล้ายกับโสม ช่วยในการบำรุงร่างกายให้กระชุ่มกระชวยกระปรี้กระเปร่า รวมทั้งคลายความกำหนัดทางกามารมณ์ แก้โรคกามตายด้าน เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ให้รสขม และเผ็ดร้อน
โดยในปัจจุบันนี้ผู้คนนิยมรับประทานกระชายดำกันมากขึ้นทำให้กระชายเหลืองเริ่มคลายความนิยมลง แต่อย่างไรก็ตาม กระชายเหลืองนั้นก็ยังคงให้สรรพคุณทางยาสมุนไพรมากกว่ากระชายดำ และเนื่องจากกระชายมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายและคล้ายกับโสมจึงทำให้กระชายได้ฉายาในวงการแพทย์ว่า “โสมไทย” เลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น