จำปา (Champaca) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น มาลายูเรียกจำปากอ หรือจัมปา เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของไทย, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยต้นจำปานี้มีประโยชน์ตั้งแต่ต้นยันรากเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไปของจำปา
สำหรับต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ รวมทั้งสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาประมาณ 3 ปี โดยเฉพาะในต้นฤดูฝน และผลนั้นออกเป็นกลุ่ม กลมๆ มีเมล็ดเยอะสีดำ
ประโยชน์และสรรพคุณของจำปา
ใบ – ช่วยในการรักษาเส้นประสาทพิการ แก้โรคประสาท รวมทั้งช่วยแก้ไข้อภิญญาณ (อุจจาระที่ถ่ายออกมาเป็นสีดำ, แดง, ขาว หรือเขียว หรือมีลักษณะคล้ายมูลแมว) และช่วยแก้ปวงของทารก ให้รสเฝื่อนขม
ดอก – ช่วยในการกระจายโลหิตที่ร้อน ทำให้เลือดเย็น รวมทั้งขับปัสสาวะ ขับลม แก้อาการวิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืดตาลาย อีกทั้งยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ช่วยแก้เส้นกระดูก บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนังอย่างหิด ฝี หรือโรคเรื้อน ไปจนกระทั่งแก้โรคหนองใน ช่วยบำรุงโลหิต และบำรุงน้ำดี ให้รสขมหอม
ดอก, เมล็ด – ช่วยในการแก้ไข้ คลื่นเหียน หรือวิงเวียนศีรษะ และช่วยแก้ธาตุพิการ ให้รสขมเย็น
ลูก, เมล็ด – ช่วยแก้อาการเท้าแตก หรือเป็นแผลที่เท้า ให้รสขม
เปลือกต้น – ช่วยในการสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้พิษไข้ ช่วยบำรุงหัวใจ รวมทั้งทำให้เกิดเสมหะในลำคอเพื่อแก้อาการคอแห้ง ให้รสฝาดเฝื่อนขม
กระพี้ – ช่วยในการถอนพิษที่ผิดสำแดง ให้รสเฝื่อนขม
เนื้อไม้ – ช่วยบำรุงโลหิตระดู ให้รสเฝื่อนขม
แก่น – ช่วยแก้กุฏฐัง (โรคเรื้อน) ให้รสเฝื่อนขมเมา
ราก, เปลือกราก – ช่วยในการระงับอาการอักเสบ ใช้พอกฝีให้แตกเร็ว ให้รสเฝื่อนขม
ราก – ใช้เป็นยาระบายในการขับถ่าย หรือขับเลือด ให้รสเฝื่อนขม
น้ำมันจากดอก – ใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะ รวมทั้งแก้อาการบวม แก้ปวดข้อ และแก้ตาอักเสบ
น้ำมันของเมล็ด – ใช้ทาหน้าท้อง ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
ยาง – ช่วยแก้โรคริดสีดวงพลวก ให้รสเฝื่อนเมา
ซึ่งจะเห็นได้ว่าประโยชน์ของต้นจำปานี้มีมากมายจนเรียกได้ว่าทั้งต้นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังนิยมนำต้นจำปานี้มาปลูกเป็นไม้ประดับ และนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร หรือแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางได้อีกด้วย
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ชะเอมเทศ
ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน
ลักษณะทั่วไปของชะเอมเทศ
สำหรับต้นชะเอมเทศนั้นเป็นพันธุ์ไม้ของจีนจัดเป็นไม้พุ่ม โดยมีลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร และมีขนสั้นๆ อยู่ตามลำต้น ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับกันสีเขียวอมเหลือง และมีก้านใบย่อยที่สั้นมากๆ และดอกจะออกเป็นช่อๆ โดยมีกลีบดอกสีม่วงอ่อนๆ และก้านดอกสั้นมากๆ ส่วนผลของชะเอมเทศนั้นจะเป็นฝักแบนๆ ผิวผลเรียบ ลักษณะคล้ายรูปไตสีดำ มักขึ้นอยู่ริมทางน้ำในเขตอากาศอบอุ่น
ประโยชน์และสรรพคุณของชะเอมเทศ
ฝัก – ช่วยทำให้ชุ่มอก แก้อาการคอแห้ง และช่วยบำรุงกำลังได้ดี ให้รสหวาน
ใบ – ช่วยแก้ดีพิการ และทำให้เสมหะแห้ง ให้รสหวานเอียน
ดอก – ช่วยแก้พิษฝีดาษ ให้รสหวานเย็น
ต้น – ช่วยขับลมลงสู่เบื้องต่ำ ให้รสหวาน
ราก – ช่วยบำรุงปอด ทำให้ชุ่มคอ แก้อาการน้ำลายเหนียว แก้เสมหะเป็นพิษ ทำให้เสมหะงวด รวมทั้งช่วยแก้พิษ คั่วแล้วแก้อาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นไข้ ไอ หรือปวดท้อง ช่วยสงบประสาท แก้ดีและโลหิต ตลอดจนบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญเติบโตได้ดี ให้รสหวานขมชุ่ม
เปลือกราก – ใช้เป็นยาระบายท้องให้แก่เด็กอ่อน ให้รสหวานร้อน
นอกจากนี้ ชะเอมเทศยังได้รับการขนานนามในจีนว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรที่ช่วยขจัดสารพิษ เพียงรับประทานทุกวันในปริมาณน้อยๆ ก็สามารถขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราลงได้ โดยเฉพาะในเลือดและตับ แถมชะเอมเทศนั้นยังมีรสชาติอ่อนนุ่มและไม่มีผลข้างเคียงเหมือนสมุนไพรชนิดอื่นๆ จึงทำให้เป็นที่นิยมนำมาใช้เพื่อขจัดสารพิษ
ลักษณะทั่วไปของชะเอมเทศ
สำหรับต้นชะเอมเทศนั้นเป็นพันธุ์ไม้ของจีนจัดเป็นไม้พุ่ม โดยมีลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร และมีขนสั้นๆ อยู่ตามลำต้น ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับกันสีเขียวอมเหลือง และมีก้านใบย่อยที่สั้นมากๆ และดอกจะออกเป็นช่อๆ โดยมีกลีบดอกสีม่วงอ่อนๆ และก้านดอกสั้นมากๆ ส่วนผลของชะเอมเทศนั้นจะเป็นฝักแบนๆ ผิวผลเรียบ ลักษณะคล้ายรูปไตสีดำ มักขึ้นอยู่ริมทางน้ำในเขตอากาศอบอุ่น
ประโยชน์และสรรพคุณของชะเอมเทศ
ฝัก – ช่วยทำให้ชุ่มอก แก้อาการคอแห้ง และช่วยบำรุงกำลังได้ดี ให้รสหวาน
ใบ – ช่วยแก้ดีพิการ และทำให้เสมหะแห้ง ให้รสหวานเอียน
ดอก – ช่วยแก้พิษฝีดาษ ให้รสหวานเย็น
ต้น – ช่วยขับลมลงสู่เบื้องต่ำ ให้รสหวาน
ราก – ช่วยบำรุงปอด ทำให้ชุ่มคอ แก้อาการน้ำลายเหนียว แก้เสมหะเป็นพิษ ทำให้เสมหะงวด รวมทั้งช่วยแก้พิษ คั่วแล้วแก้อาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นไข้ ไอ หรือปวดท้อง ช่วยสงบประสาท แก้ดีและโลหิต ตลอดจนบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญเติบโตได้ดี ให้รสหวานขมชุ่ม
เปลือกราก – ใช้เป็นยาระบายท้องให้แก่เด็กอ่อน ให้รสหวานร้อน
นอกจากนี้ ชะเอมเทศยังได้รับการขนานนามในจีนว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรที่ช่วยขจัดสารพิษ เพียงรับประทานทุกวันในปริมาณน้อยๆ ก็สามารถขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราลงได้ โดยเฉพาะในเลือดและตับ แถมชะเอมเทศนั้นยังมีรสชาติอ่อนนุ่มและไม่มีผลข้างเคียงเหมือนสมุนไพรชนิดอื่นๆ จึงทำให้เป็นที่นิยมนำมาใช้เพื่อขจัดสารพิษ
ชิงชัน
ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย
ลักษณะทั่วไปของชิงชัน
สำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้ขนาดใหญ่ถึงขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร เปลือกของต้นนั้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนา ซึ่งมีรากแก้วที่ยาวมาก และมีปมรากถั่ว ส่วนใบมีสีแดง บางใบเกลี้ยง บางใบอาจมีขนขึ้นอยู่เบาบาง รูปทรงรี ปลายมน หรือหยักเว้าน้อยๆ และดอกของต้นชิงชันนั้นจะออกดอกทุกปีในประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และเมล็ดโดยส่วนมากมักจะมีเพียงเมล็ดเดียว หรือ 2 – 3 เมล็ด สีน้ำตาล มีรูปร่างคล้ายกับรูปไต
ประโยชน์และสรรพคุณของชิงชัน
แก่น – ช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
เปลือก – สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล รวมทั้งรักษาแผลเรื้องรังด้วย
นอกจากนี้ ยังนิยมนำต้นชิงชันนี้มาทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องเรือน หรือเครื่องใช้สอยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอง, ตะโพน, คันไถ, ด้ามปืน, ด้ามมีด, ตู้, เตียง หรือโต๊ะ ฯลฯ เพราะด้วยลักษณะเนื้อไม้ของชิงชันนั้นจะค่อนข้างแข็งและเหนียว แถมยังมีความสวยงามมากอีกด้วย ซึ่งสำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้หายากที่มีราคาแพง ที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์ทั้งทางสมุนไพรและอุตสาหกรรมพื้นบ้านเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไปของชิงชัน
สำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้ขนาดใหญ่ถึงขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร เปลือกของต้นนั้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนา ซึ่งมีรากแก้วที่ยาวมาก และมีปมรากถั่ว ส่วนใบมีสีแดง บางใบเกลี้ยง บางใบอาจมีขนขึ้นอยู่เบาบาง รูปทรงรี ปลายมน หรือหยักเว้าน้อยๆ และดอกของต้นชิงชันนั้นจะออกดอกทุกปีในประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และเมล็ดโดยส่วนมากมักจะมีเพียงเมล็ดเดียว หรือ 2 – 3 เมล็ด สีน้ำตาล มีรูปร่างคล้ายกับรูปไต
ประโยชน์และสรรพคุณของชิงชัน
แก่น – ช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
เปลือก – สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล รวมทั้งรักษาแผลเรื้องรังด้วย
นอกจากนี้ ยังนิยมนำต้นชิงชันนี้มาทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องเรือน หรือเครื่องใช้สอยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอง, ตะโพน, คันไถ, ด้ามปืน, ด้ามมีด, ตู้, เตียง หรือโต๊ะ ฯลฯ เพราะด้วยลักษณะเนื้อไม้ของชิงชันนั้นจะค่อนข้างแข็งและเหนียว แถมยังมีความสวยงามมากอีกด้วย ซึ่งสำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้หายากที่มีราคาแพง ที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์ทั้งทางสมุนไพรและอุตสาหกรรมพื้นบ้านเลยทีเดียว
จิก
จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น
ลักษณะทั่วไปของต้นจิก
สำหรับต้นจิกนั้นจัดเป็นไม้ต้นขนาดไม่ใหญ่มาก มีลำต้นเป็นปุ่มๆเป็นพู โดยเป็นพืชผลัดใบ ที่ชอบขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ สามารถทนน้ำขังได้ดี ส่วนใบของต้นจิกนั้นเป็นใบเดี่ยวอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ออกแบบสลับถี่ตามปลายยอดต้นจิก รูปทรงไข่กลับ และดอกนั้นออกเป็นช่อสีแดงหรือชมพูห้อยลงมา มีกลีบเลี้ยงทั้งหมด 4 กลีบ ไม่ร่วงหล่นจนกระทั่งออกผล ซึ่งผลของต้นจิกนี้จะมีรูปทรงยาวรีเป็นเหลี่ยม
ประโยชน์และสรรพคุณของจิก
ใบ – ช่วยแก้อาการท้องเสีย ปิดธาตุ แก้บิดมูกเลือด และแก้อุจจาระพิการ ให้รสฝาดมัน
เมล็ด – ช่วยแก้อาการเยื่อตาอักเสบ รวมทั้งแก้อาการแน่นจุกเสียด เป็นยาร้อนใช้หลังคลอด และสามารถนำไปทำเป็นยานัตถุ์แก้อาการปวดศีรษะ อีกทั้งยังสามารถนำไปบดผสมกับขิงสดรับประทาน ช่วยให้อาเจียนและขับเสมหะ ให้รสร้อน
ผล – ช่วยแก้อาการหวัด และแก้หืดไอ ให้รสฝาดร้อน
เปลือกต้น – ช่วยแก้ไข้ป่า แก้พิษแมลงกัดต่อย รวมทั้งช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน และสมานแผล ตลอดจนนำไปใช้เบื่อปลา ให้รสร้อนเมา
เนื้อไม้ – ช่วยในการขับระดูขาว ให้รสขื่น
ราก – ช่วยแก้อาการหวัด ขับเสมหะ ช่วยทำให้อาเจียน และระบายท้อง ให้รสขื่นขม
นอกจากนี้ ต้นจิกนั้นยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลชนิดหนึ่งก็ว่าได้ อย่างในตำนานพระพุทธศาสนา ต้นจิกนี้มีชื่อเรียกตามชื่อของพญานาคว่ามุจลินทร์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่าขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่นั้นเกิดฝนตกและมีพายุอย่างหนัก เมื่อพญามุจลินทร์ผ่านมาเห็นเข้าก็ได้แผ่พังพานเพื่อกำบังฝนให้แก่พระพุทธเจ้านั่นเอง
ลักษณะทั่วไปของต้นจิก
สำหรับต้นจิกนั้นจัดเป็นไม้ต้นขนาดไม่ใหญ่มาก มีลำต้นเป็นปุ่มๆเป็นพู โดยเป็นพืชผลัดใบ ที่ชอบขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ สามารถทนน้ำขังได้ดี ส่วนใบของต้นจิกนั้นเป็นใบเดี่ยวอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ออกแบบสลับถี่ตามปลายยอดต้นจิก รูปทรงไข่กลับ และดอกนั้นออกเป็นช่อสีแดงหรือชมพูห้อยลงมา มีกลีบเลี้ยงทั้งหมด 4 กลีบ ไม่ร่วงหล่นจนกระทั่งออกผล ซึ่งผลของต้นจิกนี้จะมีรูปทรงยาวรีเป็นเหลี่ยม
ประโยชน์และสรรพคุณของจิก
ใบ – ช่วยแก้อาการท้องเสีย ปิดธาตุ แก้บิดมูกเลือด และแก้อุจจาระพิการ ให้รสฝาดมัน
เมล็ด – ช่วยแก้อาการเยื่อตาอักเสบ รวมทั้งแก้อาการแน่นจุกเสียด เป็นยาร้อนใช้หลังคลอด และสามารถนำไปทำเป็นยานัตถุ์แก้อาการปวดศีรษะ อีกทั้งยังสามารถนำไปบดผสมกับขิงสดรับประทาน ช่วยให้อาเจียนและขับเสมหะ ให้รสร้อน
ผล – ช่วยแก้อาการหวัด และแก้หืดไอ ให้รสฝาดร้อน
เปลือกต้น – ช่วยแก้ไข้ป่า แก้พิษแมลงกัดต่อย รวมทั้งช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน และสมานแผล ตลอดจนนำไปใช้เบื่อปลา ให้รสร้อนเมา
เนื้อไม้ – ช่วยในการขับระดูขาว ให้รสขื่น
ราก – ช่วยแก้อาการหวัด ขับเสมหะ ช่วยทำให้อาเจียน และระบายท้อง ให้รสขื่นขม
นอกจากนี้ ต้นจิกนั้นยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลชนิดหนึ่งก็ว่าได้ อย่างในตำนานพระพุทธศาสนา ต้นจิกนี้มีชื่อเรียกตามชื่อของพญานาคว่ามุจลินทร์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่าขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่นั้นเกิดฝนตกและมีพายุอย่างหนัก เมื่อพญามุจลินทร์ผ่านมาเห็นเข้าก็ได้แผ่พังพานเพื่อกำบังฝนให้แก่พระพุทธเจ้านั่นเอง
งาขาว
งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย
ลักษณะทั่วไปของงาขาว
สำหรับต้นงาขาวนั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ปลูก บางพันธุ์จะมีกิ่งก้าน ในขณะที่บางพันธุ์ไม่มี ในแกนหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอก ส่วนผลจะเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีขาว และเมล็ดสีขาวนั้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อแห้งเปลือกเมล็ดจะเปิดอ้าออก แล้วเมล็ดนั้นจะร่วงหลุดออกมา ทำให้การเก็บงาต้องอาศัยแรงงานคนเพื่อไม่ให้เมล็ดงาร่วงหล่น และเมื่อไม่นานมานี้เองได้มีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดแตกกระจาย เพื่อให้สามารถเก็บเมล็ดงาขาวนี้ได้ด้วยเครื่องจักร
ประโยชน์และสรรพคุณของงาขาว
เมล็ด – ช่วยบำรุงกำลังให้มีแรง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ทำให้ดีกำเริบ ให้รสฝาดๆ หวานๆ ขมๆ
น้ำมัน – ใช้ทำเป็นน้ำมันเพื่อใส่บาดแผล ให้รสฝาดร้อน
ซึ่งนอกจากประโยชน์ของงาขาวในการนำมาเป็นส่วนประกอบหรือโรยหน้าบนอาหาร และขนมต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำมาสกัดน้ำมันที่มีประโยชน์มากมายจากเมล็ดงานี้อีกด้วย และในเมล็ดงาขาวนี้จะมีน้ำมันอยู่ถึงร้อยละ 44 – 46 เลยทีเดียว โดยกลิ่นและรสของเมล็ดงาขาวนี้จะคล้ายกับถั่ว ประโยชน์ของน้ำมันงานั้นจะช่วยต่อต้านการเกิดออกซิไดซ์ได้ดี นอกจากนี้ยังนำมาใช้ผลิตสบู่ ยา และน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางอย่างอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของงาขาว
สำหรับต้นงาขาวนั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ปลูก บางพันธุ์จะมีกิ่งก้าน ในขณะที่บางพันธุ์ไม่มี ในแกนหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอก ส่วนผลจะเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีขาว และเมล็ดสีขาวนั้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อแห้งเปลือกเมล็ดจะเปิดอ้าออก แล้วเมล็ดนั้นจะร่วงหลุดออกมา ทำให้การเก็บงาต้องอาศัยแรงงานคนเพื่อไม่ให้เมล็ดงาร่วงหล่น และเมื่อไม่นานมานี้เองได้มีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดแตกกระจาย เพื่อให้สามารถเก็บเมล็ดงาขาวนี้ได้ด้วยเครื่องจักร
ประโยชน์และสรรพคุณของงาขาว
เมล็ด – ช่วยบำรุงกำลังให้มีแรง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ทำให้ดีกำเริบ ให้รสฝาดๆ หวานๆ ขมๆ
น้ำมัน – ใช้ทำเป็นน้ำมันเพื่อใส่บาดแผล ให้รสฝาดร้อน
ซึ่งนอกจากประโยชน์ของงาขาวในการนำมาเป็นส่วนประกอบหรือโรยหน้าบนอาหาร และขนมต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำมาสกัดน้ำมันที่มีประโยชน์มากมายจากเมล็ดงานี้อีกด้วย และในเมล็ดงาขาวนี้จะมีน้ำมันอยู่ถึงร้อยละ 44 – 46 เลยทีเดียว โดยกลิ่นและรสของเมล็ดงาขาวนี้จะคล้ายกับถั่ว ประโยชน์ของน้ำมันงานั้นจะช่วยต่อต้านการเกิดออกซิไดซ์ได้ดี นอกจากนี้ยังนำมาใช้ผลิตสบู่ ยา และน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางอย่างอีกด้วย
งาดำ
งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ งาดำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamum Orientale L. โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเอธิโอเปีย ต่อมามีการนำเข้าไปยังอินเดีย และแพร่ต่อไปในจีน แอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และทวีปอเมริกา ตามลำดับ ซึ่งงาดำนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง
ลักษณะทั่วไปของงาดำ
สำหรับต้นงาดำนั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ปลูก ซึ่งบางพันธุ์นั้นจะมีกิ่งก้าน แต่บางพันธุ์ไม่มี ซึ่งในแกนหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอก ส่วนผลจะเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีดำ และเมล็ดสีดำนั้นจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อแห้งเปลือกเมล็ดจะปริอ้าออก แล้วเมล็ดนั้นจะร่วงหลุดออกมา ซึ่งให้การเก็บงาต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก แต่ไม่นานมานี้เองได้มีการคิดค้นพัฒนาพันธุ์งาใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เมล็ดแตกกระจาย ทำให้สามารถเก็บเมล็ดงาดำนี้ได้ด้วยเครื่องจักร
ลักษณะทั่วไปของงาดำ
สำหรับต้นงาดำนั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ปลูก ซึ่งบางพันธุ์นั้นจะมีกิ่งก้าน แต่บางพันธุ์ไม่มี ซึ่งในแกนหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอก ส่วนผลจะเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีดำ และเมล็ดสีดำนั้นจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อแห้งเปลือกเมล็ดจะปริอ้าออก แล้วเมล็ดนั้นจะร่วงหลุดออกมา ซึ่งให้การเก็บงาต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก แต่ไม่นานมานี้เองได้มีการคิดค้นพัฒนาพันธุ์งาใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เมล็ดแตกกระจาย ทำให้สามารถเก็บเมล็ดงาดำนี้ได้ด้วยเครื่องจักร
ประโยชน์และสรรพคุณของงาดำ
เมล็ด – ช่วยบำรุงกำลังให้มีแรง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย มีแคลเซี่ยมสูง ให้รสฝาดๆ หวานๆ ขมๆ
น้ำมัน – ใช้ทำเป็นน้ำมันเพื่อใส่บาดแผล ให้รสฝาดร้อน
เมล็ด – ช่วยบำรุงกำลังให้มีแรง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย มีแคลเซี่ยมสูง ให้รสฝาดๆ หวานๆ ขมๆ
น้ำมัน – ใช้ทำเป็นน้ำมันเพื่อใส่บาดแผล ให้รสฝาดร้อน
ซึ่งงาดำนี้เป็นธัญพืชเมล็ดสีดำเม็ดจิ๋วที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว โดยเฉพาะเป็นอาหารที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้ และมีการเปรียบเปรยว่างาดำนั้นสามารถรักษาได้ทุกโรคที่เป็น เว้นแต่ความตายกันเลยทีเดียว ^ ^
เจตมูลเพลิงแดง
เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของเจตมูลเพลิงแดง
สำหรับต้นเจตมูลเพลิงแดงนั้นเป็นจัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็กที่มีอายุได้หลายปี โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 1 – 1.5 เมตร บางครั้งอาจสูงถึงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากขึ้นและมักทอดยาว บริเวณยอดอ่อนมีสีแดง ส่วนลำต้นนั้นจะกลมและเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบอ่อนจะมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด โดยดอกจะออกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด
ลักษณะทั่วไปของเจตมูลเพลิงแดง
สำหรับต้นเจตมูลเพลิงแดงนั้นเป็นจัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็กที่มีอายุได้หลายปี โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 1 – 1.5 เมตร บางครั้งอาจสูงถึงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากขึ้นและมักทอดยาว บริเวณยอดอ่อนมีสีแดง ส่วนลำต้นนั้นจะกลมและเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบอ่อนจะมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด โดยดอกจะออกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด
ประโยชน์และสรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง
ใบ – ช่วยในการขับผายลม ช่วยย่อยอาหาร รวมทั้งแก้ลมในกองเสมหะ และแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน ให้รสร้อน
ดอก – ช่วยแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก) ให้รสร้อน
ต้น – ช่วยแก้โลหิตที่เกิดแต่กองกำเดา ให้รสร้อน
ราก – ช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ รวมทั้งช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร ขับโลหิตระดู ตลอดจนให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แก้เกลื่อนฝี ช่วยกระจายเลือดลม และใช้ทาแก้โรคผิวหนัง บีบมดลูกทำให้แท้งได้
ใบ – ช่วยในการขับผายลม ช่วยย่อยอาหาร รวมทั้งแก้ลมในกองเสมหะ และแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน ให้รสร้อน
ดอก – ช่วยแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก) ให้รสร้อน
ต้น – ช่วยแก้โลหิตที่เกิดแต่กองกำเดา ให้รสร้อน
ราก – ช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ รวมทั้งช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร ขับโลหิตระดู ตลอดจนให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แก้เกลื่อนฝี ช่วยกระจายเลือดลม และใช้ทาแก้โรคผิวหนัง บีบมดลูกทำให้แท้งได้
ซึ่งในสมุนไพรต้นเจตมูลเพลิงแดงนี้ก็จะคล้ายๆ กับต้นเจตมูลเพลิงขาว โดยเฉพาะข้อห้ามที่ควรระมัดระวังจะเหมือนกัน คือห้ามไม่ให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รับประทาน เพราะมีสารบางตัวที่อาจทำให้แท้งลูกได้เช่นเดียวกัน
จันทน์เทศ
จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ลักษณะทั่วไปของจันทน์เทศ
สำหรับต้นจันทน์เทศนั้นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 18 เมตร ลำต้นเรียบมีสีเทาแกมดำ ส่วนเนื้อไม้นั้นมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2 – 3 ดอก หรือบางครั้งอาจออกเป็นดอกเดี่ยว จะออกตามซอก สีเหลือง ส่วนผลเป็นรูปทรงกลม คล้ายลูกสาลี่ เปลือกผลเรียบสีเหลืองนวล หรือแดงอ่อน เมื่อผลแก่จะแตกปริออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดกลมๆ สีน้ำตาล
ประโยชน์และสรรพคุณของจันทน์เทศ
เนื้อไม้, แก่น – ช่วยในการบำรุงปอด หัวใจ และน้ำดี รวมทั้งแก้อาการตับพิษตีพิษโลหิต และแก้ไข้เพื่อดี ให้รสขมหอมสุขุม
ลูก – ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้กำเดา แก้อาการท้องร่วง รวมทั้งแก้อาการจุกเสียด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยบำรุงโลหิต ขับลม และแก้อาการปวดมดลูก ให้รสฝาดร้อนหอม
รกหุ้มเมล็ด – (ดอกจันทน์เทศ, จันทน์ปาน) ช่วยในการบำรุงโลหิต ช่วยขับลม และบำรุงธาตุ ให้รสเผ็ดร้อน
เมล็ด – (ลูกจันทน์เทศ, หน่วยสาน) ช่วยในการบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยขับลม แก้อาการปวดมดลูก รวมทั้งแก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต และแก้อาการท้องร่วง ให้รสร้อนหอมติดจะฝาด
เปลือกเมล็ด – ช่วยในการแก้อาการปวดท้อง รวมทั้งช่วยสมานบาดแผลภายใน และแก้ท้องขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นจันทน์เทศนี้มีประโยชน์มากมายมากมายเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เหมาะสำหรับในหญิงตั้งครรภ์โดยห้ามรับประทานเลย ทั้งนี้การรับประทานลูกจันทน์เทศไม่ควรรับประทานเกินกว่า 5 กรัม เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจทำงานผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้
ลักษณะทั่วไปของจันทน์เทศ
สำหรับต้นจันทน์เทศนั้นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 18 เมตร ลำต้นเรียบมีสีเทาแกมดำ ส่วนเนื้อไม้นั้นมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2 – 3 ดอก หรือบางครั้งอาจออกเป็นดอกเดี่ยว จะออกตามซอก สีเหลือง ส่วนผลเป็นรูปทรงกลม คล้ายลูกสาลี่ เปลือกผลเรียบสีเหลืองนวล หรือแดงอ่อน เมื่อผลแก่จะแตกปริออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดกลมๆ สีน้ำตาล
ประโยชน์และสรรพคุณของจันทน์เทศ
เนื้อไม้, แก่น – ช่วยในการบำรุงปอด หัวใจ และน้ำดี รวมทั้งแก้อาการตับพิษตีพิษโลหิต และแก้ไข้เพื่อดี ให้รสขมหอมสุขุม
ลูก – ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้กำเดา แก้อาการท้องร่วง รวมทั้งแก้อาการจุกเสียด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยบำรุงโลหิต ขับลม และแก้อาการปวดมดลูก ให้รสฝาดร้อนหอม
รกหุ้มเมล็ด – (ดอกจันทน์เทศ, จันทน์ปาน) ช่วยในการบำรุงโลหิต ช่วยขับลม และบำรุงธาตุ ให้รสเผ็ดร้อน
เมล็ด – (ลูกจันทน์เทศ, หน่วยสาน) ช่วยในการบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยขับลม แก้อาการปวดมดลูก รวมทั้งแก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต และแก้อาการท้องร่วง ให้รสร้อนหอมติดจะฝาด
เปลือกเมล็ด – ช่วยในการแก้อาการปวดท้อง รวมทั้งช่วยสมานบาดแผลภายใน และแก้ท้องขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นจันทน์เทศนี้มีประโยชน์มากมายมากมายเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เหมาะสำหรับในหญิงตั้งครรภ์โดยห้ามรับประทานเลย ทั้งนี้การรับประทานลูกจันทน์เทศไม่ควรรับประทานเกินกว่า 5 กรัม เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจทำงานผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้
แคดอกขาว
แคดอกขาว (Cork Wood Tree หรือ Sesbania Grandiflora) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกดอกแคบ้าน, ต้นแค หรือแค ส่วนกรุงเทพฯและเชียงใหม่เรียกแคขาว เป็นต้น แคดอกขาวเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินเดีย เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินจำนวนมากซึ่งช่วยในการต่อต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย จึงทำให้แคดอกขาวเป็นที่นิยมกัน
ลักษณะทั่วไปของแคดอกขาว
สำหรับต้นแคดอกขาวนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่แตกกิ่งก้านมากโดยไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 10 เมตร โดยเปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนาและขรุขระ สามารถขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น โตเร็ว และสามารถปลูกได้ทุกที่ ส่วนใบเป็นใบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ใบย่อยเล็กรูปขอบขนาน ขอบเรียบ ปลายมนกว้าง มีสีเขียว และดอกแคจะคล้ายดอกถั่ว โดยออกเป็นช่อตามซอกใบ มีกลิ่นหอมสีขาว และผลจะเป็นฝักกลมๆ ยาวๆ เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก นำมารับประทานได้ ส่วนเมล็ดมีเยอะสีน้ำตาล
ประโยชน์และสรรพคุณของแคดอกขาว
ใบ – ช่วยในการแก้ไข้หวัดและถอนพิษไข้ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ตลอดจนช่วยดับพิษ และถอนพิษ ให้รสจืดมัน
ดอก – ช่วยแก้อาการไข้เปลี่ยนฤดู ให้รสหวานเย็น
เปลือกต้น – ช่วยในการคุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ตลอดจนช่วยชะล้างบาดแผล และช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ให้รสฝาด
ซึ่งต้นแคดอกขาวนี้จะมีการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด และในจังหวัดนครสวรรค์มักนิยมปลูกต้นแคนี้ไว้เพื่อค้าขายกันมาก นอกจากนี้ยังช่วยในด้านความงามอย่างการชะลอความชรา ป้องกันริ้วรอยแห่งวัย และผิวหนังที่แห้งแตกเป็นขุย รวมทั้งปัญหาเล็บมือหรือเล็บเท้าที่เปราะหรือแตกหักง่ายด้วย
ลักษณะทั่วไปของแคดอกขาว
สำหรับต้นแคดอกขาวนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่แตกกิ่งก้านมากโดยไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 10 เมตร โดยเปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนาและขรุขระ สามารถขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น โตเร็ว และสามารถปลูกได้ทุกที่ ส่วนใบเป็นใบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ใบย่อยเล็กรูปขอบขนาน ขอบเรียบ ปลายมนกว้าง มีสีเขียว และดอกแคจะคล้ายดอกถั่ว โดยออกเป็นช่อตามซอกใบ มีกลิ่นหอมสีขาว และผลจะเป็นฝักกลมๆ ยาวๆ เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก นำมารับประทานได้ ส่วนเมล็ดมีเยอะสีน้ำตาล
ประโยชน์และสรรพคุณของแคดอกขาว
ใบ – ช่วยในการแก้ไข้หวัดและถอนพิษไข้ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ตลอดจนช่วยดับพิษ และถอนพิษ ให้รสจืดมัน
ดอก – ช่วยแก้อาการไข้เปลี่ยนฤดู ให้รสหวานเย็น
เปลือกต้น – ช่วยในการคุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ตลอดจนช่วยชะล้างบาดแผล และช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ให้รสฝาด
ซึ่งต้นแคดอกขาวนี้จะมีการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด และในจังหวัดนครสวรรค์มักนิยมปลูกต้นแคนี้ไว้เพื่อค้าขายกันมาก นอกจากนี้ยังช่วยในด้านความงามอย่างการชะลอความชรา ป้องกันริ้วรอยแห่งวัย และผิวหนังที่แห้งแตกเป็นขุย รวมทั้งปัญหาเล็บมือหรือเล็บเท้าที่เปราะหรือแตกหักง่ายด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)