ลักษณะทั่วไปของกล้วยหอม
สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5 – 3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4 – 5 หวี หวีละประมาณ 12 – 16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วยหอม
ยาง – ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล ให้รสฝาด
ผลดิบ – สามารถหั่นแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง หรือชงน้ำร้อนรับประทาน ช่วยรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสฝาด
ผลสุก – ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็งแรง และช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ รวมทั้งรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสหวาน บางคนนิยมใช้รับประทานแทนอาหารเช้าเพื่อลดความอ้วน
ราก – นำมาต้มดื่มช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด และผื่นคัน ตลอดจนรักษาอาการร้อนใน กระหายน้ำ และเป็นไข้ เป็นการสมานแผลภายใน ให้รสฝาดเย็น
ใบ – นำมาต้มอาบแก้อาการผดผื่นคันได้ หรือปิ้งไฟแล้วนำมาปิดทับแผลจากไฟไหม้ ให้รสเย็นจืด
ยาง – ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล ให้รสฝาด
ผลดิบ – สามารถหั่นแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง หรือชงน้ำร้อนรับประทาน ช่วยรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสฝาด
ผลสุก – ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็งแรง และช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ รวมทั้งรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสหวาน บางคนนิยมใช้รับประทานแทนอาหารเช้าเพื่อลดความอ้วน
ราก – นำมาต้มดื่มช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด และผื่นคัน ตลอดจนรักษาอาการร้อนใน กระหายน้ำ และเป็นไข้ เป็นการสมานแผลภายใน ให้รสฝาดเย็น
ใบ – นำมาต้มอาบแก้อาการผดผื่นคันได้ หรือปิ้งไฟแล้วนำมาปิดทับแผลจากไฟไหม้ ให้รสเย็นจืด
นอกจากนี้ เปลือกของกล้วยหอมก็มีประโยชน์มากมาย เช่น นำมาขัดฟันช่วยให้ฟันขาวขึ้น หรือบำรุงผิว ลดริ้วรอย รักษาสิว ลดถุงใต้ตา ตลอดจนรักษาอาการส้นเท้าแตก ฯลฯ เมื่อรับประทานเสร็จแล้วก็อย่าเพิ่งทิ้งนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น