วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ (Crataeva) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักกุ่ม ชาวละว้าเชียงใหม่เรียกรอถะ สุพรรณบุรีเรียกอำเภอ และชาวกะเหรี่ยงสุพรรณบุรีเรียกเหาะเถาะ เป็นต้น โดยกุ่มน้ำนั้นเป็นไม้ที่สามารถขึ้นได้ทั่วไป พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ตามริมแม่น้ำ หรือลำห้วยในป่า ซึ่งสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

ลักษณะทั่วไปของกุ่มน้ำ
สำหรับกุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5 – 20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9 – 22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

กุ่มน้ำ

ประโยชน์และสรรพคุณของกุ่มน้ำ
ราก – ช่วยในการบำรุงธาตุ แก้อาการปวดท้อง และช่วยขับหนองให้กระจาย ให้รสสุขุม
ใบ – ช่วยแก้ไข้ ขับเหงื่อ เจริญอาหาร เป็นยาระบาย อีกทั้งช่วยในการผายลม แก้สะอึก แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ตลอดจนแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อัมพาต และแก้ปวดเส้นเอ็น ให้รสขมหอม
ดอก – ช่วยแก้อาการไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว อีกทั้งแก้อาการเจ็บคอและเจ็บตา ให้รสเย็น
ผล – ช่วยแก้อาการไข้ ให้รสขม
เปลือกต้น – ช่วยแก้อาการไข้ ขับผายลม แก้ลมทำให้เรอ แก้อาการสะอึก รวมทั้งช่วยขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้ริดสีดวงผอมแห้ง แก้กษัย ตลอดจนช่วยดับพิษบริเวณผิวหนัง และช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ขับนิ่วและน้ำดี แก้อาเจียน ให้รสขมหอม
กระพี้ – ช่วยแก้โรคริดสีดวงทวาร ให้รสร้อน
แก่น – ช่วยแก้นิ่ว ให้รสร้อน

กุ่มน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น